Royal
Chitralada

Project

ประวัติความเป็นมา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นพัฒนางานด้านการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญ ทรงริเริ่มนำผลิตผลทางการเกษตรมาทดลองแปรรูป ในเชิงอุตสาหกรรม พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และได้ใช้พระราชฐานที่ประทับภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นสถานที่กำเนิดโครงการต่าง ๆ ที่เป็นโรงงานแปรรูปนมเป็นผลผลิต

จากการเลี้ยงโคนมซึ่งเป็นอาชีพพระราชทาน ได้แก่ ศูนย์รวมนม โรงนมยูเอชที โรงนมผง โรงนมเม็ด โรงเนยแข็ง อันเรียกได้ว่า โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้สร้างเป็นโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม หรือต้นแบบธุรกิจ SMEs มีการนำน้ำนมโค มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยกระบวนการทางอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้กระจายสู่ผู้บริโภคด้วยการค้าเชิงพาณิชย์ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งนับเป็นตัวอย่างการทำ “อุตสาหกรรมแบบพอเพียง”

ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ครบวงจรที่สุด และชัดเจนที่สุดเนื่องจากเป็นโครงการที่มีความต่อเนื่องทุกขั้นตอน ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าจากเกษตรสู่อุตสาหกรรม จากอุตสาหกรรมสู่การตลาด ภายในสถานที่เดียวกัน คือ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นับเป็นมรดกของแผ่นดินจากพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสร้างไว้ให้ประชาชนในแผ่นดินได้ศึกษาเป็นต้นแบบ

วัตถุประสงค์

เป็นโครงการเพื่อการทดลองหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานด้านการเกษตรต่างๆให้เกษตรกรและเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ โดยนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่หวังผลตอบแทน (เชิงธุรกิจ)

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

โครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจ

เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมทางการเกษตร ตัวอย่างเช่น แปลงนาข้าวทดลอง การปลูกข้าวไร่ และการเลี้ยงปลานิล เป็นต้น

โครงการกึ่งธุรกิจ

เป็นโครงการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการแปรรูปนมและผลผลิตทางการเกษตรเพื่อนำออกจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรมโดยนำรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มาใช้พัฒนา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ต่อไป

โครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจ
2504
  • แปลงนา
    ทดลอง
2505
  • โรงโคนม
    สวนจิตรลดา

2508
  • การเพาะเลี้ยง
    ปลานิล
2512
  • โรงนมผง
  • สวนดุสิต
2514
  • โรงสีข้าว
    ตัวอย่าง
2515
  • กังหันลม
2516
  • ศูนย์รวมนม
2518
  • โรงบดแกลบ
2527
  • โรงนมเม็ด
  • โรงผลิตภัณฑ์
    อบแห้ง
2528
  • โรงปุ๋ยอินทรีย์
2529
  • โรงหล่อเทียนหลวง
  • โรงสาหร่ายแปรรูป
  • โรงแอลกอฮอล์
    และผลิตภัณฑ์
2530
  • โรงน้ำดื่ม
  • โรงเนยแข็ง

2531
  • โรงแปรรูป
    สมุนไพร
2532
  • โรงน้ำผลไม้
  • พาสเจอร์ไรส์
2534
  • โรงน้ำผึ้ง
2535
  • โรงกระป๋อง
2536
  • ธนาคารพืชพรรณ
    และธนาคาร
    พันธุกรรมพืช
2537
  • การผลิต
    แก๊สโซฮอล์
2539
  • บ้านพลังงาน
    แสงอาทิตย์
2540
  • โรงกระถาง
    ผักตบชวา
  • โรงน้ำดื่มจิตรลดา
2541
  • การผลิต
    ดีโซฮอล์
2542
  • งานหัตถกรรม
    ดิน
2543
  • โครงการไม้สักเก่า
  • โครงการ
    นมฟลูออไรด์
  • ศึกษาวิจัย
    การผลิตไบโอดีเซล
2544
  • งานเกล็ดปลา
    และงานบุหงา
  • งานเครื่องหอม
    และของชำร่วย
2546
  • โรงนมยูเอชที
2547
  • การผลิต
    ไบโอดีเซล
2548
  • ระบบผลิตน้ำเย็นโดย
    ใช้พลังงานความร้อน
    จากแกลบ
2549
  • ระบบสูบน้ำ
    ด้วยพลังงาน
    แสงอาทิตย์
2550
  • ระบบผลิตไฟฟ้า
    ด้วยกระแสลม
2563
  • โรงไอศกรีม
2564
  • โรงรีคาร์ท
โครงการกึ่งธุรกิจ

สถานที่จัดจำหน่าย

โกลเด้นเพลส
โครงการหลวง
ร้านภูฟ้า
ร้านดอยคำ
7-11 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
บิ๊กซี

ท๊อป
มินิบิ๊กซี
แม็คโคร
เดอะมอลล์
แม็คแวลู่
เลม่อนฟาร์ม

คำถามที่พบบ่อย

ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ เก็บรักษาอย่างไร

  • จะต้องเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสม่ำเสมอไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น มีอายุการเก็บ 10 วัน นับตั้งแต่วันผลิต อายุการเก้บจะสั้นลงหากอุณหภูมิการเก็บสูงกว่าที่กำหนดและเมื่อเปิดขวดแล้วควรดื่มให้หมด หากไม่หมดควรรีบเก็บเข้าตู้เย็นทันที

คลังคำถามที่พบบ่อย

ติดต่อเรา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

พระราชวังดุสิต
ถนนราชวิถี เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10303

0 2282 1150